เมนู

นางวชิราภิกษุณีได้กล่าวคาถานี้กะมารผู้ลามก1ว่า
ดูก่อนมาร ทิฏฐิของท่านย่อมเชื่อสิ่งอะไรหนอว่าสัตว์
ร่างกายนี้เป็นกองแห่งสังขารล้วน บัณฑิตย่อมไม่ได้ที่จะ
เรียกว่าเป็นสัตว์ในกองสังขารล้วนนี้ เสียงว่ารถย่อมมี
เพราะคุมกันเข้าแห่งส่วนประกอบ ฉันใด เมื่อขันธ์
ทั้งหลายมีอยู่ ความสมมติว่าสัตว์ก็มี ฉันนั้น ก็ทุกข์
อย่างเดียวย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และย่อมแปรไป
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ.

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไร ๆ...ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมค้นหารูปอย่างนั้นแหละ ตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ ภิกษุย่อมค้น
หาเวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่
เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูปตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ เมื่อค้นหาเวทนา . . .
สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ แม้ความ
ถือว่าเราก็ดี ว่าของเราก็ดี ว่าเราย่อมมีก็ดี ความถือแม้นั้นก็มิได้มีแก่ภิกษุ
นั้นๆ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

ว่าด้วยโลกสูญ


ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล
พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

1. ส. ส. 15/ข้อ 555.

ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึง
กล่าวว่าโลกสูญ ดูก่อนอานนท์ ก็สิ่งอะไรที่สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยตน ดูก่อนอานนท์ จักษุสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูป
ก็สูญ... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี
อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้น
ก็สูญ หู ... เสียง ... จมูก ... กลิ่น... ลิ้น... รส... กาย ...โผฏฐัพพะ...
ใจ... ธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนาก็ดี
ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูก่อนอานนท์ เพราะ
โลกสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า โลกสูญ
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไร ๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า
สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่บุคคลใด.
[867] ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ในคำว่า ผู้นั้น เมื่อไม่ได้
ความถือว่าของเรา
ได้แก่ ความถือว่าของเรา 2 อย่าง คือ ความถือว่า
ของเราด้วยตัณหา 1 ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ.
ผู้นั้นละความถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ
แล้ว เมื่อไม่ได้ ไม่พบ ไม่ประสบ ไม่ได้เฉพาะ ซึ่งความถือว่าของเรา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือว่าของเรา.
[868] คำว่า ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา ความว่า
ผู้นั้น ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไป หรือเมื่อวัตถุนั้นแปรปรวน
ไปแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกถึง และไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่

ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุของเราแปรปรวนไปแล้ว
หูของเราแปรปรวนไปแล้ว ฯลฯ สาโลหิตของเราแปรปรวนไปแล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ความกังวลอะไร ๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของ
คนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือ
ว่าของเรา ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา.

[869] บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว
เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มี
ความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น.


ว่าด้วยผู้ไม่ริษยา


[870] ความริษยา ในคำว่า เป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ
เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ริษยา คือ ย่อมริษยา ชิงชัง
ผูกความริษยา ในลาภ สักการะ การเคารพ การนับถือ การไหว้และ
การบูชาของบุคคลอื่น ความเป็นผู้ริษยา การทำความเป็นผู้ริษยา ความ
ริษยา กิริยาที่ริษยา ความเป็นผู้ริษยา ความชิงชัง กิริยาที่ชิงชัง ความ
เป็นผู้ชิงชัง นี้เรียกว่าความริษยา ความริษยานั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด
สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น
เรียกว่า เป็นผู้ไม่ริษยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่ริษยา. คำว่า
ไม่ตามติดใจ ความว่า ตัณหา เรียกว่าความตามติดใจ ได้แก่ ราคะ